การได้ยินเสื่อมและการแก้ไข

การได้ยินที่เสื่อมลงแบ่งได้เป็น 3 ชนิด การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในด้อยลง (Conductive hearing loss) เช่น มีขี้หูอุดตันที่รูหู แก้วหูทะลุ ขยายเสียงได้น้อยลง หรือกระดูกหูชั้นกลางขยับไม่ดีหรือขาดหายไป หรือมีของเหลวเช่น หนอง น้ำเหลือง ค้างอยู่ในหูชั้นกลาง

การได้ยินที่เสื่อมลงแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในด้อยลง (Conductive hearing loss) เช่น มีขี้หูอุดตันที่รูหู แก้วหูทะลุ ขยายเสียงได้น้อยลง หรือกระดูกหูชั้นกลางขยับไม่ดีหรือขาดหายไป หรือมีของเหลวเช่น หนอง น้ำเหลือง ค้างอยู่ในหูชั้นกลาง

ประสาทหูชั้นในเสื่อม (Sensoreneural hearing loss) ประสาทเซลล์ขนในหูชั้นในเสื่อมลงหรือเสียงไม่สามารถผ่านเส้นประสาทเส้นที่ 8 ได้ เช่น เป็นเนื้องอกเสื่อมแบบผสมคือ แบบที่หนึ่งรวมกับแบบที่สอง (Mixed Hearing Loss)

ในผู้สูงอายุมักจะมีประสาทหูเสื่อมในย่านความถี่สูงมากกว่าความถี่ต่ำ ทำให้รับเสียงสูงได้ไม่ชัด เช่น เสียงนก เสียงเด็กเล็ก หรือเสียงผู้หญิง ด้วยเทคโนโลยีย้ายความถี่โดยเคลื่อนย้ายเสียงความถี่สูงไปรับด้วยประสาทหูย่านความถี่ที่ต่ำกว่าซึ่งรับเสียงได้ดีอยู่ (Sound Recover) ผู้ใช้ต้องใช้เวลาฝึกการฟังนานเป็นเดือนถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด

ปัญหาที่ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังไม่ชอบคือเสียงรบกวน เมื่อได้ยินเสียงพูดเบา ผู้ใช้มักจะปรับระดับรับเสียงให้ดังขึ้น แต่เสียงทุกเสียงจะถูกปรับดังขึ้นด้วย รวมทั้งเสียงรบกวนรอบข้าง แต่ด้วย Flex Control ซึ่งจะเพิ่มความดังของเสียงพูดซึ่งอยู่ในช่วงความถี่ 500-3,000 Hz แล้วลดเสียงจอแจและเสียงรบกวนซึ่งอยู่นอกช่วงความถี่นี้ลง

ไมโครโฟนไร้สาย (MyPAL) ใช้ในกรณีที่ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังแล้วยังได้ยินไม่ชัด อาจจะช่วยได้โดยพูดผ่านไมโครโฟนไร้สายแล้วส่งสัญญาณเข้าเครื่องช่วยฟังโดยตรง โดยที่ตัวเครื่องช่วยฟังมีเสาอากาศรับสัญญาณคลื่นความถี่ 2.4 GHz และสามารถรับจากไมค์ลอยได้ถึงสามตัว

แก้ใขได้อย่างไร
ประสาทหูที่เสื่อมแล้วไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือผ่าตัด แต่สามารถช่วยให้ได้ยินดีขึ้นโดยการรับเสียงจากผู้พูดผ่านไมโครโฟน แล้วขยายให้ดังขึ้นด้วยตัวขยายเสียง เสียงที่ถูกขยายแล้วถูกปล่อยออกผ่านลำโพงเข้าหูผู้ฟังเหมือนเครื่องขยายเสียง เครื่องที่ดีมีคุณภาพสูงจะไม่ทำให้เสียงที่ถูกขยายแล้วผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียง ปัญหาที่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังครั้งแรกแล้วไม่ชอบมีหลายสาเหตุ เช่น มักมีเสียงวีดๆ ที่ลอดจากเครื่อง เครื่องเล็กที่ใส่ในรูหูทำให้อึดอัดในรูหูเพราะช่องรูหูระบายอากาศเข้าออกไม่ได้ ได้ยินเสียงพูดของตนเองก้องเพราะวัสดุที่ใส่ในรูหูนำเสียงผ่านกะโหลกได้มากขึ้น ปํญหาเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อใช้เครื่องในช่องหูที่ได้รับการออกแบบให้มีช่องระบายลมที่เหมาะสม หรือใส่เครื่องช่วยฟังแบบที่มีไมโครโฟนสอดในรูหูและมีจุกซิลิโคนที่มีรูระบายลม

CR: https://www.หูอื้อหูตึง.com/หูและการได้ยิน/การได้ยินเสื่อมลงคืออะใร.html

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่คุณบนเว็บไซต์ของเรา การเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเรา

The cookie settings on this website are set to "allow cookies" to give you the best browsing experience possible. If you continue to use this website without changing your cookie settings or you click "Accept" below then you are consenting to this.

Close